ประวัติวัดพลมานีย์

ป้ายที่สร้างพร้อมกับวัด


ปู่พล ย่ามา แสงหิรัญ
ผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดพลมานีย์
สถานที่ตั้ง วัดพลมานีย์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถ.ประชาพัฒนา แขวง ทับยาว เขต ลาดกระบัง ตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
สภาพภูมิประเทศ บริเวณพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะสี่เหลี่ยม ประชาชนมีอาชีพทำนา เลี้ยงปลา ปัจจุบันการทำนาลดลงมาก ทำนาไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วน และยังเหลือการเลี้งปลาที่ยังทำกันอยู่ตอนนี้
อาณาเขตของวัด มีที่ดินก่อสร้างเสนาสนะ 9 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา ต่อมามีเพิ่มอีก 2 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา รวมปัจจุบันนี้มีที่ดิน 12 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา มีที่ดินธรณีสงฆ์ 100 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา เมื่อมีการก่อสร้างทางด่วนสายกรุงเทพ – ชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ผ่านที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าว จึงเหลือที่ดินธรณีสงฆ์อยู่ 82 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา
อาณาเขตบริเวณก่อสร้างเสนาสนะ
ทิศเหนือ ติดกับโรงเรียนวัดพลมานีย์ ความยาว 124 เมตร
ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินเอกชน ความยาว 152 เมตร
ทิศตะวันตก ติดกับถนนประชาพัฒนา ความยาว 152 เมตร
ทิศใต้ ติดกับคลองประเวศบุรีรมย์ ความยาว 124 เมตร
การสร้างวัด นายพล แสงหิรัญ เป็นกำนันตำบลลาดกระบัง อำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร พร้อมนางบุญมา แสงหิรัญ ภรรยา ได้มีจิตศรัทราอุทิศที่ดิน จัดสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2462เมื่อแรกสร้างประชาชนเรียกวัดนี้ว่า วัดใหม่กำนันพล (สำนักสงฆ์) และได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดปลูกศรัทรา มาจำพรรษาในระยะเริ่มแรก จำนวน 5 รูป มีพระภิกษุแหยม เป็นประธาน ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2466 และได้รับชื่อใหม่ว่า วัดพลมานีย์
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้างวัด ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2530 ได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ (ยังไม่ได้ฝังลูกนิมิต) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2534 กำหนดเขต กว้าง 40เมตร ยาว 80 เมตร ในปัจจุบันยังใช้อุโบสถหลังเก่าทำสังฆกรรมถึงทุกวันนี้ และมีกำหนดการจะฝังลูกนิมิต อุโบสถหลังใหม่ประมาณต้นปี พ.ศ. 2556

สมเด็จพระสังฆราชสมเด็จมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิญาณวโรรส ผู้พระราชทานตั้งชื่อวัด
การเปลี่ยนชื่อวัด ได้มีผู้เล่ากล่ากันไว้ต่อ ๆ กันมาว่า ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากท่านสมเด็จพระสังฆราชสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิญาณวโรรส เมื่อยังทรงตำแหน่งเจ้าคณะเจียรระดับ ได้พระราชทานตั้งชื่อวัด โดยใช้ชื่อผู้สร้างวัด นายพล นางบุญมา นำมารวมกัน แล้วเติมคำว่า นีย์ ต่อท้ายเป็น วัดพลมานีย์ ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น